ช่วยสอนหมาหล้อม
ผมเองได้มีโอกาสไปช่วยสอน หมากล้อม โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางผู้อำนวยการโรงเรียนท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และให้การต้อนรับเป็นอย่างดี รวมถึงน้องๆนักเรียนก็ชอบการเรียนหมากล้อมเช่นเดียวกัน แบบว่าตั้งใจเรียนกันมาก พวกพี่ๆก็พยายามสอนให้น้องๆได้รับความรู้มากที่สุด เพราะนานทีที่ได้ไปสอนต่างจังหวัด และนานที่จะได้ไปสอน 555 อย่างไรก็ดีมันเป็นประสบการณ์ที่ดีและจะยังคงอยู่ในความทรงจำเสมอ บางคนอาจจะคิดว่ามันยาก ที่จริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิด ถ้าเราเข้าใจ แต่จะเล่นหมากล้อมให้เก่งยาก เล่นเอาแบบสนุกๆ คลายเครียดกันดีกว่าครับ ส่งเสริมให้เล่นครับ สนุก ได้ความรู้แถมปรัชญาที่ดี ลองหาเล่นกันดูนะครับ
เป้าหมายในการเล่นหมากล้อมคือ การสร้างพื้นที่ให้ได้มากกว่าฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่สร้างพื้นที่ได้มากกว่า จะเป็นฝ่ายชนะ นั่นคือฝ่ายใดที่สร้างพื้นที่ได้มากกว่าเพียง 1 คะแนน ก็เป็นฝ่ายชนะ การสร้างพื้นที่คือ การล้อมจุดตัดว่างๆ โดยเม็ดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
หมากที่ถูกจับกิน คือ หมากที่ถูกฝ่ายตรงข้ามปิดล้อมลมหายใจจนหมด ลมหายใจ คือ จุดตัดที่อยู่ติดกับตัวหมาก โดยมีเส้นที่พุ่งออกมาจากตัวหมากมาเป็นตัวเชื่อม
การต่อรองในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าการเล่น “โคะ” ในชิวิตประจำวัน ของเรามีบางสิ่งบางอย่างที่เราต้องยอมสูญเสียเพื่อแลกกับบางอย่างกลับคืนมา การพิจารณาสถานการณ์ให้ถ่องแท้ เพื่อกำหนดถึงผลประโยชน์อันควรได้รับ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งการต่อรองบนกระดานหมากล้อมจะช่วยสอนสิ่งเหล่านี้ให้กับเราได้ การต่อรองนั้นเป็นผลจากข้อบังคับในการเล่นหมากล้อมที่ว่า “ห้ามกินกลับไปกลับมา ในลักษณะที่เหมือนเดิมทันทีทันใด”
หมากล้อมถึงแม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมายาวนาน ถึง 3000 ปี แต่มีกฎ ใหญ่ ๆ อยู่แค่ 3 ข้อแค่นี้แหล่ะครับ แต่หากถ้าคุณได้สัมผัสหมากล้อมลงไปอีกนิด….คุณจะรู้ว่า…ชั่วชีวิตนี้คุณอาจจะเรียนรู้มันยังไม่หมด
cr. Thaigo.org